ภาษาคอมพิวเตอร์ Programming Languages
คือ เครื่องมือที่มนุษย์ใช้สื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยแต่ละภาษาจะมีลักษณะเฉพาะตัวที่ชัดเจน มีคำศัพท์ที่ใช้จำนวนจำกัด
ระดับของภาษา(Level of Languages)
ภาษาเครื่อง(Machine Languages)
ภาษาแอสแซมบลี(Assembly Languages)
ภาษาระดับสูง(High-level Languages)
ภาษาระดับสูงมาก(Very High-level Languages)
ภาษาธรรมชาติ(Natural Languages)
ภาษาเครื่อง : เป็นภาษาที่มีระดับต่ำที่สุด โดยจะเขียนด้วยระบบฐานสอง ซึ่งมีเพียง 0 กับ 1 เท่านั้น
ภาษาแอสแซมบลี : จัดเป็นภาษาระดับต่ำมาก ใช้ตัวย่อ หรือรหัสย่อในการเขียนโปรแกรม เช่น A คือรหัสของ Add , C คือ Compare เป็นต้น และตัวแปลภาษา Assembly คือ Assembler
คอมพิวเตอร์สามารถกระทำการ (Excute) ได้เฉพาะภาษาเครื่องเท่านั้น ดังนั้นหากเราเขียนด้วยภาษาใดๆ ก็ตามที่มิใช่ภาษาเครื่อง จะต้องใช้ตัวแปลภาษา(Translator) เพื่อแปลภาษาโปรแกรมที่เขียนให้เป็นภาษาที่เครื่อง เข้าใจ
ภาษาระดับสูง : เป็นภาษาโปรแกรมยุคที่ 3 ที่เป็นภาษาระดับสูงโปรแกรมจะเขียนในลักษณะคล้ายภาษาอังกฤษ ทำให้เขียนได้ง่ายขึ้น และสำหรับตัวแปลภาษาโปรแกรมเหล่านี้คือ คอมไพเลอร์ (Compiler) โดยคอมไพเลอร์จะทำหน้าที่แปล Souce Program ให้เป็น Oject Program โดยแปลครั้งเดียว ยกตัวอย่างภาษาโปรแกรมระดับสูงเช่น Fortran , Basic, pascal, C, Cobol
ภาษาระดับสูงมาก : เป็นภาษาโปรแกรมยุคที่ 4 ซึ่งเป็นภาษาระดับสูงมาก จัดเป็นภาษาไร้กระบวนคำสั่ง หมายความว่าผู้ใช้ เพียงบอกแต่ว่าให้คอมพิวเตอร์ทำอะไร โดยไม่ต้องบอกคอมพิวเตอร์ว่าสิ่งนั้นทำอย่างไร เรียกว่าเป็นภาษาเชิงผลลัพธ์ คือเน้นว่าทำอะไร ไม่ใช่ทำอย่างไร ดังนั้นจึงเป็นภาษาโปรแกรมที่เขียนง่าย
ภาษาธรรมชาติ : เป็นภาษาโปรแกรมยุคที่ 5 ซึ่งคล้ายกับภาษาพูดตามธรรมชาติของคน การเขียนโปรแกรมง่ายที่สุด คือการเขียนคำพูดของเราเองว่าเราต้องการอะไร ไม่ต้องใช้คำสั่งงานใดๆ เลย
ตัวอย่างภาษาในยุคต่างๆ ดังนี้
Fortran : ภาษาระดับสูงภาษาแรก เป็นภาษาโปรแกรมที่ใช้งานด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และด้านคณิตศาสตร์ ภาษาฟอร์เทนจะประกอบด้วยข้อความ คำสั่ง ทีละบรรทัด
Colbol : ภาษาโปรแกรมสำหรับธุรกิจ ที่มีลักษณะคล้ายกับภาษาอังกฤษ และที่สำคัญคือ เป็นภาษาโปรแกรมที่อิสระจากเครื่อง หมายความว่า โปรแกรมที่เขียนขึ้นใช้งานบนคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งเพียงแค่ปรับปรุงเล็กน้อย ก็สามารถรันได้บนคอมพิวเตอร์อีกชนิดหนึ่ง
Basic : ภาษาโปรแกรมสำหรับผู้เริ่มต้น เป็นภาษาโปรแกรมที่เรียนรู้ง่าย ไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับใช้ในวงการศึกษา
Pascal : เป็นภาษาสำหรับการเรียนการสอนโดยเฉพาะ เป็นภาษาที่เขียนง่าย ใช้ถ้อยคำน้อย
Ada : ภาษามาตรฐาน ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย โปรแกรมเมอร์คนแรก คือ เคาต์ Add Lovelace เป็นภาษาที่ประสบความเร็จกับงานด้านธุรกิจ
C : ภาษาสมับใหม่ เป็นภาษาที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรมระบบปฎิบัติการ เหมาะสำหรับโปรแกรมเมอร์ที่มีความสามารถสูง
ALGOL : เป็นภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมด้านวิทยาศาสตร์
LISP : เป็นภาษาที่ใช้เมื่อประมวลผลด้านสัญลักษณ์, อักขระ,หรือคำต่างๆ ซึ่งเป็นการได้ตอบระหว่างคนกับคอมพิวเตอร์ ภาษานี้นิยมใช้เขียนโปรแกรมด้านปัญญาประดิษฐ์
Prolog : เป็นภาษาโปรแกรมสำหรับงานด้านปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งแทนการใช้ภาษาLISP
PL/1 : เป็นภาษาที่เรียนรู้ง่าย ใช้งานทั้งด้านวิทยาศาสตร์ และด้านธุรกิจ ดังนั้นภาษานี้จะมีขนาดใหญ่ มี option มาก
ALP : เป็นภาษที่เหมาะสมกับการทำตาราง มีสัญลักษณ์ต่างๆ มาก
Logo : เป็นภาษาย่อยของ lisp เป็นโปรแกรมสำหรับเด็ก มีการสนทนาโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ โดยใช้ "เต่า" เป็นสัญลักษณ์โต้ตอบกับคำสั่งง่ายเช่น forward, left
Pilot : เป็นภาษาโปรแกรมที่นิยมใช้มากที่สุดในการเขียนโปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน(CAI) เช่น งานเกี่ยวกับคำสั่ง ฝึกหัด การทดสอบ เป็นต้น
Smalltalk : เป็นภาษาเชิงโต้ตอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยการจำ และการพิมพ์ เป็นภาษาที่สนับสนุนระบบคอมพิวเตอร์ภาพ เป็นภาษาเชิงวัตถุไม่ใช่เชิงกระบวนการ
Forth : เป็นภาษาสำหรับงานควบคุมแบบทันที เช่นการแนะนำกล้องดาราศาสตร์ และเป็นภาษาโปรแกรมที่มีความเร็วสูง
Modula-2 : คล้ายคลึงกับภาษาปาสคาล ออกแบบมาเพื่อให้เขียนซอฟต์แวร์ระบบ
RPG : เป็นภาษาเชิงปัญหา ออกแบบมาเพื่อใช้แก้ปัญหาการทำรายงานเชิงธุรกิจ เช่น การปรับปรุงแฟ้มข้อมูล
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ขั้นตอนในการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
7 ขั้นตอนในการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
ติดไวรัสแล้วอย่ากลัว ใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสที่เหมาะกับตัวเอง ติดตั้งโปแกรมป้องกันไวรัสให้เป็น อัพเดตฐานข้อมูลไวรัส (Definition) อยู่เสมอ เปลี่ยนเวอร์ชันใหม่ทันทีที่มีโอกาส อย่ารับไฟล์แปลกหน้า และติดตามข่าวสารอยู่เสมอ นี่คือ 7 ขั้นตอนในการช่วยป้องกันคุณไม่ให้ติดไวรัสคอมพิวเตอร์
1. ใช้โปรแกรมป้องกันไวรัส
การใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสเป็นสิ่งที่คุณควรทำเป็นอันดับแรก เพราะโปรแกรมเหล่านี้เป็นเหมือนบอดี้การ์ดที่ทำหน้าที่ปกป้องเครื่อง คอมพิวเตอร์ของคุณ โปรแกรมป้องกันไวรัสจะทำหน้าที่หลักอยู่สามส่วนคือ ป้องกันไวรัสที่จะเข้ามาในเครื่อง เป็นการตรวจดูไฟล์ที่จะเข้ามาในเครื่องว่าจะเป็นไวรัสหรือไม่ ? ตรวจจับไวรัสที่เล็ดลอดเข้ามา สแกนไฟล์ที่อยู่ในเครื่องว่าเป็นไวรัสหรือไม่? กำจัด (Delete)หรือกักกัน (Quarantines) ในกรณีที่พบไฟล์ไวรัส โปรแกรมป้องกันไวรัสจะทำการลบไฟล์นั้นทิ้ง แต่ถ้าพบว่าเป็นไฟล์ที่มีความเสียง แต่ไม่แน่ใจว่าจะเป็นไฟล์ไวรัสหรือลบไม่ได้ โปรแกรมจะทำการกักกันไฟล์ไม่ให้มีการทำงาน โดยการทำงานในสองส่วนแรกจะใช้การเปรียบเทียบฐานข้อมูลการทำงานของไวรัส (Definition) กับไฟล์ต้องสงสัยว่าเข้าข่ายที่จะเป็นไฟล์ไวรัสหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการลบหรือกักกันไฟล์ต้องสงสัยต่อไป
2. ใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสที่เหมาะกับตัวเอง
โปรแกรมป้องกันไวรัสในปัจจุบันมีอยู่หลายประเภท ตามแต่ที่ผู้ผลิตแต่ละรายจะประกาศสินค้าออกมาแต่ตัวที่สำคัญ ๆ ที่คุณควรรู้จักจะมีอยู่ไม่กี่ตัว นั่นคือ Anti-Virus เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ป้องกันไวรัส รวมไปถึงสปายแวร์ (Spyware) และแอดแวร์ (Adware) ได้บางส่วน Firewall เป็นระบบป้องกันการบุกรุกเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณโดยไม่ได้รับอนุญาติ ป้องกันการโจมตีโดยที่คุณไม่รู้ตัว Anti-Spyware เป็นโปรแกรมที่มีหน้าที่กำจัดโปรแกรมจำพวกสปายแวร์และแอดแวร์โดยเฉพาะ ซึ่งโปรแกรมที่มีหน้าที่กำจัดโปรแกรมจมีการควบคุมที่ง่าย ผู้ใช้สามารถเลือกใช้งานได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้มากนัก โดยทั่วไปโปรแกรมเหล่านี้จะมีแยกขายเป็นตัว ๆ แต่ก็มีการนำเอาโปรแกรมทั้งหมดมารวมกัน และเพิ่มระบบรักษาความปลอกดภัยอื่น ๆ เช่น โปรแกรมป้องกันสแปมเมล์ (Spam Mail) หรือโปรแกรมกรองข้อมูลที่ไม่เหมาะสม (Content Filtering) เข้ามารวมเป็นชุดโปรแกรม Internet Security ซึ่งชุดโปรแกรมนี้จะมีระบบการรักษาความปลอดภัยที่ดี และครบถ้วนแต่ผู้ใช้ก็ต้องมีความรู้ในการจัดการระบบรักษาความปลอดภัยมากพอ สมควร
3. ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสให้เป็น
ในการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส หลาย ๆ คนยังไม่รู้วิธีการติดตั้งที่ถูกต้องนัก ทำให้โปรแกรมไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมอย่างถูกวิธีไม่ได้มีวิธีการที่ยุ่งยากอะไรเพียง แค่ลำดับความสำคัญของโปรแกรมให้ถูกก็พอ ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมป้องกัน ไวรัสนั้น ควรทำหลังจากที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเรียบร้อยแล้ว ซึ่งในขณะนั้นเป็นช่วงที่ระบบมีความสะอาดมากที่สุด และทำการอัพเดตให้โปรแกรมป้องกันไวรัสมีฐานะฐานข้อมูลของไวรัสล่าสุดจนถึง วันที่ติดตั้งโปรแกรม จากนั้นก็ทำการติดตั้งโปรแกรมต่าง ๆ ลงไป เพื่อเป็นการเช็กว่าโปรแกรมเหล่านั้นมีไฟล์ไวรัสแฝงมาหรือไม่ และขั้นตอนสุดท้ายค่อยก็ทำการย้ายไฟล์ข้อมูลกลับเข้ามาเก็บไว้ใน เครื่อง อย่างไรก็ตามบางคนอาจจะติดตั้งโปรแกรมต่าง ๆ ลงไปก่อนก็ได้ไม่ว่ากัน ถ้ามั่นใจว่าโปรแกรมที่ใช้อยู่มาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ แล้วจึงติดตั้งโปรแกรมติดตั้งไวรัสในขั้นตอนต่อมา และทำการอัพเดตโปรแกรมป้องกันไวรัสในทันสมัย ก่อนที่จะนำข้อมูลเข้ามาเก็บเป็นขั้นตอนสุดท้าย เพราะโอกาสที่ไวรัสจะแฝงเข้ามากับข้อมูลที่คุณมีอยู่ มีความเป็นไปได้สูง กว่าไวรัสที่แฝงมากับโปรแกรม
4. อัพเดตฐานข้อมูลไวรัส (Definition) อยู่เสมอ
การอัพเดตฐานข้อมูลไวรัสเป็นสิ่งที่ผู้คนมักจะหลงลืมอยู่เป็นประจำ หลาย ๆ คนยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนักเกี่ยวกับโปรแกรมป้องกันไวรัสว่าเมื่อติด ตั้งโปรแกรมไปแล้วจะสามารถป้องกันไวรัสได้ตลอดไป นั้นถือว่าเป็นความเข้าใจที่ผิด โปรแกรมป้องกันไวรัสมีหน้าที่ในการป้องกันไวรัส แต่ผู้พัฒนาไวรัสเองก็มีการพัมนารูปแบบของไวรัสใหม่ ๆ ออกมาให้สามารถทำงานทะลุทะลวงโปรแกรมป้องกันไวรัสที่ไม่มีการอัพเดตฐาน ข้อมูลได้ ถ้าไม่มั่นใจก็ให้คุณเปิดโปรแกรมป้องกันไวรัสขึ้นมา แล้วมาหาคำสั่ง Updates เมื่อเจอก็คลิ๊กเลย โปรแกรมจะทำการอัพเดตฐานข้อมูลให้คุณควรทำอย่าน้อยวันละครั้งถ้าทำได้ แต่ถ้าทำไม่ได้ทุกครั้งที่ต่อเข้าอินเทอร์เน็ตก็ควรทำการอัพเดตทันที เพราะหากคุณทิ้งไว้นานเกินไป การอัพเดตจะใช้เวลานานมาก และบางครั้งในช่วงที่คุณไม่ได้อัพเดต คุณอาจจะโดนไวรัสเล่นไปแล้วก็ได้
5. เปลี่ยนเวอร์ชันใหม่ทันทีที่มีโอกาส
โดย ทั่วไปโปรแกรมป้องกันไวรัสจะมีอายุการงานประมาณ 1 ปี หลังจากนั้นผู้ผลิตจะออกโปรแกรมป้องกันไวรัสเวอร์ชันใหม่ออกมา บางคนอาจจะคิดว่าเราจะเสียเงินไปซื้อโปรแกรมเวอร์ชันใหม่ทำไม ในเมื่อเวอร์ชันเก่าก็ยังใช้ได้ และยังอัพเดตฐานข้อมูลได้ จริงอยู่ครับที่เมื่อหมดปีคุณยังสามารถใช้งาน โปรแกรมเวอร์ชันเก่าได้ แต่โปรแกรมป้องกันไวรัสเวอร์ชันใหม่ที่ออกมาจะมีการพัฒนาระบบการทำงานภายใน เพื่อให้สามารถรับมือกับไวรัสได้ดีขึ้น รวมไปถึงอาจจะมีการเพิ่มฟังก์ชันบองอย่างที่ช่วยให้คุณใช้งานโปรแกรมได้ สะดวก ง่าย และปลอดภัยกว่าเดิม เช่น ลดขนาดไฟล์ฐานข้อมูลไวรัสให้มีขนาดเล็ก ทำให้การอัพเดต สามารถทำได้รวดเร็วขึ้น
6. อย่ารับไฟล์แปลกหน้า และติดตามข่าวสารอยู่เสมอ
แม้ ว่าคุณจะอัพเดตโปรแกรมป้องกันไวรัสให้ใหม่อยู่เสมอแค่ไหนก็ตาม แต่ความจริงอย่างหนึ่งที่คุณควรรู้คือ ไฟล์ดัพเดตนี้ก็มีขึ้นหลังจากที่เกิดไวรัสขึ้นแล้ว นั่นหมายถึงคุณก็ยังมีโอกาสติดไวรัสได้ตลอดเวลา การป้องกันอีกอย่างหนึ่งที่คุณทำเองได้ก็คือ ไม่พยายามรับไฟล์แปลกๆ เพราะไฟล์เหล่านั้นอาจจะมีไวรัสแฝงมา ในสมัยก่อนไฟล์เหล่านี้อาจจะส่งมาจากคนที่เราไม่รู้จักแต่ไวรัสสมัยใหม่ก็ ฉลาดพอที่จะขโมยรายชื่ออีเมล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของคนรู้จักของคุณ ดังนั้นอย่าไว้ใจไฟล์ที่ส่งมา ถ้าไม่มั่นใจจะใช้วิธี MSN หรือโทรไปถามก็ได้ครับว่า เพื่อนหรือเจ้านายของคุณส่งไฟล์นี้มาหรือไม่ และคุณควรติดตามข่าวสารเกี่ยวกับไวรัสใหม่ๆ อยู่เสมอ ซึ่งเว็บไซต์ของผู้ผลิตโปรแกรมป้องกันไวรัสจะมีการอัพเดตข่าวอยู่เสมอๆ
7. ติดไวรัสแล้วอย่ากลัว
ติด ไวรัสแล้วทำยังไง ก่อนอื่นอย่ากลัวหรือเพิ่งตื่นตกใจไป ลองเช็คอาการที่เกิดขึ้น แล้วใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ติดไวรัสหาข้อมูลว่า ไวรัสที่เล่นงานคุณชื่อว่าอะไร และมีโปรแกรมแก้ไขไหม (Removal Tools) ถ้ามีก็ดาวน์โหลดมาใช้งาน เพื่อทำการลบไวรัส จากนั้นก็เปิดเครื่องให้อยู่ในระบบ Safa Mode ขั้นตอนต่อไปทำการอัพเดตฐานข้อมูลไวรัสให้ทันสมัยที่สุด แล้วรีบูตเครื่องอีกครั้งตามปกติแล้วทำการสแกนไวรัสในเครื่องอีกครั้ง เพื่อหาไฟล์ไวรัสที่ยังหลงเหลืออยู่แต่ถ้าแก้ไขแล้วยังไม่ดีขึ้นก็ต้องทำใจ ฟอร์แมตใหม่
ติดไวรัสแล้วอย่ากลัว ใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสที่เหมาะกับตัวเอง ติดตั้งโปแกรมป้องกันไวรัสให้เป็น อัพเดตฐานข้อมูลไวรัส (Definition) อยู่เสมอ เปลี่ยนเวอร์ชันใหม่ทันทีที่มีโอกาส อย่ารับไฟล์แปลกหน้า และติดตามข่าวสารอยู่เสมอ นี่คือ 7 ขั้นตอนในการช่วยป้องกันคุณไม่ให้ติดไวรัสคอมพิวเตอร์
1. ใช้โปรแกรมป้องกันไวรัส
การใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสเป็นสิ่งที่คุณควรทำเป็นอันดับแรก เพราะโปรแกรมเหล่านี้เป็นเหมือนบอดี้การ์ดที่ทำหน้าที่ปกป้องเครื่อง คอมพิวเตอร์ของคุณ โปรแกรมป้องกันไวรัสจะทำหน้าที่หลักอยู่สามส่วนคือ ป้องกันไวรัสที่จะเข้ามาในเครื่อง เป็นการตรวจดูไฟล์ที่จะเข้ามาในเครื่องว่าจะเป็นไวรัสหรือไม่ ? ตรวจจับไวรัสที่เล็ดลอดเข้ามา สแกนไฟล์ที่อยู่ในเครื่องว่าเป็นไวรัสหรือไม่? กำจัด (Delete)หรือกักกัน (Quarantines) ในกรณีที่พบไฟล์ไวรัส โปรแกรมป้องกันไวรัสจะทำการลบไฟล์นั้นทิ้ง แต่ถ้าพบว่าเป็นไฟล์ที่มีความเสียง แต่ไม่แน่ใจว่าจะเป็นไฟล์ไวรัสหรือลบไม่ได้ โปรแกรมจะทำการกักกันไฟล์ไม่ให้มีการทำงาน โดยการทำงานในสองส่วนแรกจะใช้การเปรียบเทียบฐานข้อมูลการทำงานของไวรัส (Definition) กับไฟล์ต้องสงสัยว่าเข้าข่ายที่จะเป็นไฟล์ไวรัสหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการลบหรือกักกันไฟล์ต้องสงสัยต่อไป
2. ใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสที่เหมาะกับตัวเอง
โปรแกรมป้องกันไวรัสในปัจจุบันมีอยู่หลายประเภท ตามแต่ที่ผู้ผลิตแต่ละรายจะประกาศสินค้าออกมาแต่ตัวที่สำคัญ ๆ ที่คุณควรรู้จักจะมีอยู่ไม่กี่ตัว นั่นคือ Anti-Virus เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ป้องกันไวรัส รวมไปถึงสปายแวร์ (Spyware) และแอดแวร์ (Adware) ได้บางส่วน Firewall เป็นระบบป้องกันการบุกรุกเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณโดยไม่ได้รับอนุญาติ ป้องกันการโจมตีโดยที่คุณไม่รู้ตัว Anti-Spyware เป็นโปรแกรมที่มีหน้าที่กำจัดโปรแกรมจำพวกสปายแวร์และแอดแวร์โดยเฉพาะ ซึ่งโปรแกรมที่มีหน้าที่กำจัดโปรแกรมจมีการควบคุมที่ง่าย ผู้ใช้สามารถเลือกใช้งานได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้มากนัก โดยทั่วไปโปรแกรมเหล่านี้จะมีแยกขายเป็นตัว ๆ แต่ก็มีการนำเอาโปรแกรมทั้งหมดมารวมกัน และเพิ่มระบบรักษาความปลอกดภัยอื่น ๆ เช่น โปรแกรมป้องกันสแปมเมล์ (Spam Mail) หรือโปรแกรมกรองข้อมูลที่ไม่เหมาะสม (Content Filtering) เข้ามารวมเป็นชุดโปรแกรม Internet Security ซึ่งชุดโปรแกรมนี้จะมีระบบการรักษาความปลอดภัยที่ดี และครบถ้วนแต่ผู้ใช้ก็ต้องมีความรู้ในการจัดการระบบรักษาความปลอดภัยมากพอ สมควร
3. ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสให้เป็น
ในการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส หลาย ๆ คนยังไม่รู้วิธีการติดตั้งที่ถูกต้องนัก ทำให้โปรแกรมไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมอย่างถูกวิธีไม่ได้มีวิธีการที่ยุ่งยากอะไรเพียง แค่ลำดับความสำคัญของโปรแกรมให้ถูกก็พอ ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมป้องกัน ไวรัสนั้น ควรทำหลังจากที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเรียบร้อยแล้ว ซึ่งในขณะนั้นเป็นช่วงที่ระบบมีความสะอาดมากที่สุด และทำการอัพเดตให้โปรแกรมป้องกันไวรัสมีฐานะฐานข้อมูลของไวรัสล่าสุดจนถึง วันที่ติดตั้งโปรแกรม จากนั้นก็ทำการติดตั้งโปรแกรมต่าง ๆ ลงไป เพื่อเป็นการเช็กว่าโปรแกรมเหล่านั้นมีไฟล์ไวรัสแฝงมาหรือไม่ และขั้นตอนสุดท้ายค่อยก็ทำการย้ายไฟล์ข้อมูลกลับเข้ามาเก็บไว้ใน เครื่อง อย่างไรก็ตามบางคนอาจจะติดตั้งโปรแกรมต่าง ๆ ลงไปก่อนก็ได้ไม่ว่ากัน ถ้ามั่นใจว่าโปรแกรมที่ใช้อยู่มาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ แล้วจึงติดตั้งโปรแกรมติดตั้งไวรัสในขั้นตอนต่อมา และทำการอัพเดตโปรแกรมป้องกันไวรัสในทันสมัย ก่อนที่จะนำข้อมูลเข้ามาเก็บเป็นขั้นตอนสุดท้าย เพราะโอกาสที่ไวรัสจะแฝงเข้ามากับข้อมูลที่คุณมีอยู่ มีความเป็นไปได้สูง กว่าไวรัสที่แฝงมากับโปรแกรม
4. อัพเดตฐานข้อมูลไวรัส (Definition) อยู่เสมอ
การอัพเดตฐานข้อมูลไวรัสเป็นสิ่งที่ผู้คนมักจะหลงลืมอยู่เป็นประจำ หลาย ๆ คนยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนักเกี่ยวกับโปรแกรมป้องกันไวรัสว่าเมื่อติด ตั้งโปรแกรมไปแล้วจะสามารถป้องกันไวรัสได้ตลอดไป นั้นถือว่าเป็นความเข้าใจที่ผิด โปรแกรมป้องกันไวรัสมีหน้าที่ในการป้องกันไวรัส แต่ผู้พัฒนาไวรัสเองก็มีการพัมนารูปแบบของไวรัสใหม่ ๆ ออกมาให้สามารถทำงานทะลุทะลวงโปรแกรมป้องกันไวรัสที่ไม่มีการอัพเดตฐาน ข้อมูลได้ ถ้าไม่มั่นใจก็ให้คุณเปิดโปรแกรมป้องกันไวรัสขึ้นมา แล้วมาหาคำสั่ง Updates เมื่อเจอก็คลิ๊กเลย โปรแกรมจะทำการอัพเดตฐานข้อมูลให้คุณควรทำอย่าน้อยวันละครั้งถ้าทำได้ แต่ถ้าทำไม่ได้ทุกครั้งที่ต่อเข้าอินเทอร์เน็ตก็ควรทำการอัพเดตทันที เพราะหากคุณทิ้งไว้นานเกินไป การอัพเดตจะใช้เวลานานมาก และบางครั้งในช่วงที่คุณไม่ได้อัพเดต คุณอาจจะโดนไวรัสเล่นไปแล้วก็ได้
5. เปลี่ยนเวอร์ชันใหม่ทันทีที่มีโอกาส
โดย ทั่วไปโปรแกรมป้องกันไวรัสจะมีอายุการงานประมาณ 1 ปี หลังจากนั้นผู้ผลิตจะออกโปรแกรมป้องกันไวรัสเวอร์ชันใหม่ออกมา บางคนอาจจะคิดว่าเราจะเสียเงินไปซื้อโปรแกรมเวอร์ชันใหม่ทำไม ในเมื่อเวอร์ชันเก่าก็ยังใช้ได้ และยังอัพเดตฐานข้อมูลได้ จริงอยู่ครับที่เมื่อหมดปีคุณยังสามารถใช้งาน โปรแกรมเวอร์ชันเก่าได้ แต่โปรแกรมป้องกันไวรัสเวอร์ชันใหม่ที่ออกมาจะมีการพัฒนาระบบการทำงานภายใน เพื่อให้สามารถรับมือกับไวรัสได้ดีขึ้น รวมไปถึงอาจจะมีการเพิ่มฟังก์ชันบองอย่างที่ช่วยให้คุณใช้งานโปรแกรมได้ สะดวก ง่าย และปลอดภัยกว่าเดิม เช่น ลดขนาดไฟล์ฐานข้อมูลไวรัสให้มีขนาดเล็ก ทำให้การอัพเดต สามารถทำได้รวดเร็วขึ้น
6. อย่ารับไฟล์แปลกหน้า และติดตามข่าวสารอยู่เสมอ
แม้ ว่าคุณจะอัพเดตโปรแกรมป้องกันไวรัสให้ใหม่อยู่เสมอแค่ไหนก็ตาม แต่ความจริงอย่างหนึ่งที่คุณควรรู้คือ ไฟล์ดัพเดตนี้ก็มีขึ้นหลังจากที่เกิดไวรัสขึ้นแล้ว นั่นหมายถึงคุณก็ยังมีโอกาสติดไวรัสได้ตลอดเวลา การป้องกันอีกอย่างหนึ่งที่คุณทำเองได้ก็คือ ไม่พยายามรับไฟล์แปลกๆ เพราะไฟล์เหล่านั้นอาจจะมีไวรัสแฝงมา ในสมัยก่อนไฟล์เหล่านี้อาจจะส่งมาจากคนที่เราไม่รู้จักแต่ไวรัสสมัยใหม่ก็ ฉลาดพอที่จะขโมยรายชื่ออีเมล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของคนรู้จักของคุณ ดังนั้นอย่าไว้ใจไฟล์ที่ส่งมา ถ้าไม่มั่นใจจะใช้วิธี MSN หรือโทรไปถามก็ได้ครับว่า เพื่อนหรือเจ้านายของคุณส่งไฟล์นี้มาหรือไม่ และคุณควรติดตามข่าวสารเกี่ยวกับไวรัสใหม่ๆ อยู่เสมอ ซึ่งเว็บไซต์ของผู้ผลิตโปรแกรมป้องกันไวรัสจะมีการอัพเดตข่าวอยู่เสมอๆ
7. ติดไวรัสแล้วอย่ากลัว
ติด ไวรัสแล้วทำยังไง ก่อนอื่นอย่ากลัวหรือเพิ่งตื่นตกใจไป ลองเช็คอาการที่เกิดขึ้น แล้วใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ติดไวรัสหาข้อมูลว่า ไวรัสที่เล่นงานคุณชื่อว่าอะไร และมีโปรแกรมแก้ไขไหม (Removal Tools) ถ้ามีก็ดาวน์โหลดมาใช้งาน เพื่อทำการลบไวรัส จากนั้นก็เปิดเครื่องให้อยู่ในระบบ Safa Mode ขั้นตอนต่อไปทำการอัพเดตฐานข้อมูลไวรัสให้ทันสมัยที่สุด แล้วรีบูตเครื่องอีกครั้งตามปกติแล้วทำการสแกนไวรัสในเครื่องอีกครั้ง เพื่อหาไฟล์ไวรัสที่ยังหลงเหลืออยู่แต่ถ้าแก้ไขแล้วยังไม่ดีขึ้นก็ต้องทำใจ ฟอร์แมตใหม่
ประโยชน์ของเครื่องคอมพิวเตอร์
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
เราได้นำเอาลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์มาใช้ ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมและที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ เช่น พิมพ์รายงาน จดหมาย เอกสารต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น
1. งานธุรกิจ บริษัท ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า รวมไปถึงโรงงานต่าง ๆ ซึ่งจะใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และใช้ติดต่อกับหน่วยงานต่าง ๆ นอกจากนี้ในงานอุตสาหกรรม จะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมการผลิต เช่น การใช้หุ่นยนต์หรือ คอมพิวเตอร์มาควบคุมการผลิต สำหรับงานด้านบันเทิง เราได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในการสร้างภาพยนต์ เพลง หนังสือ สิ่งพิมพ์ โฆษณา ผลิตสื่อต่าง ๆ เป็นต้น
2. งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข เราสามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน งานศึกษาโมเลกุลเคมี หรืองานทะเบียน สถิติ และนอกจากนี้เรายังนำคอมพิวเตอร์ไปเป็นอุปกรณ์ในการตรวจรักษาโรค ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำและยังทำให้การรักษาเป็นไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
3. งานคมนาคมและสื่อสาร เรานำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ควบคุมระบบการจราจร เช่น สัญญาณไฟจราจร และการจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็จะใช้ในระบบการสื่อสารแบบเคลื่อนที่ นอกจากนี้ยังใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียม เพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยให้การส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน
4. งานราชการ การใช้งานในหน่วยงานราชการนั้นมีหลายรูป แบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้น ๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ สำหรับสรรพกร จะนำไปใช้ในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใช้ในการจัดระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่าง เป็นต้น
5. งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกรจะใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน
6. การศึกษา เราจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ทางด้าน การเรียนการสอน หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งจะทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด เป็นต้น
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
เราได้ประโยชน์อะไรจากการเรียนคอมพิวเตอร์
1. ทันสมัย / ทันเหตุการณ์ / ทันข้อมูลข่าวสาร / ทันโลก ช่วยให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก
2. ช่วยให้การเรียน การทำงาน ทันสมัยและไรับความสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น ได้เรียนรู้จากสื่อที่ทันสมัยที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า โปรแกรม CAI
3. เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ดีเยี่ยม ช่วยในการค้นคว้าหาความรู้เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
4. ช่วยรับ - ส่งข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว
5. ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น เกม ดูภาพยนตร์ ฟังเพลง ร้องเพลง
6. ช่วยสร้างงานศิลปะ ออกแบบชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์ สวยงาม
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ประโยชน์ทางตรง
ช่วยให้มนุษย์ทำงานได้โดยตรงคือคอมพิวเตอร์ทำงานได้เที่ยงตรง รวดเร็ว ไม่เหน็ดเหนื่อย ช่วยผ่อนแรงมนุษย์ ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการคำนวณ พิมพ์งาน บันทึกข้อมูล ประมวลผล ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานในแวดวงใน หากนำคอมพิวเตอร์เข้าช่วยงาน
จะช่วยแบ่งเบาภาระงานได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ
2. ประโยชน์ทางอ้อม
คอมพิวเตอร์ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น ช่วยในการเรียนรู้ให้ความปันเทิงความรู้ ช่วยงานบันเทิงพัฒนางานด้านต่าง ๆ
เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีอันส่งผลให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น เป็นต้น
ข้อดี-ข้อเสียของคอมพิวเตอร์
ข้อดี มีดังนี้
1. ความเร็วสูง
2.ความถูกต้องแม่นยำและน่าเชื่อถือ
3. ความสามารถในการจำหรือรักษา
4. การประหยัด
5. การใช้งานได้อีกหลายๆด้าน
ข้อเสีย
1. การทำงานยังต้องขึ้นอยู่กับมนุษย์
2. การวางระบบงานคอมพิวเตอร์ต้องใช้เวลานาน
3. การรบกวนระบบงานปกติ
เราได้นำเอาลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์มาใช้ ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมและที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ เช่น พิมพ์รายงาน จดหมาย เอกสารต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น
1. งานธุรกิจ บริษัท ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า รวมไปถึงโรงงานต่าง ๆ ซึ่งจะใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และใช้ติดต่อกับหน่วยงานต่าง ๆ นอกจากนี้ในงานอุตสาหกรรม จะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมการผลิต เช่น การใช้หุ่นยนต์หรือ คอมพิวเตอร์มาควบคุมการผลิต สำหรับงานด้านบันเทิง เราได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในการสร้างภาพยนต์ เพลง หนังสือ สิ่งพิมพ์ โฆษณา ผลิตสื่อต่าง ๆ เป็นต้น
2. งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข เราสามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน งานศึกษาโมเลกุลเคมี หรืองานทะเบียน สถิติ และนอกจากนี้เรายังนำคอมพิวเตอร์ไปเป็นอุปกรณ์ในการตรวจรักษาโรค ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำและยังทำให้การรักษาเป็นไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
3. งานคมนาคมและสื่อสาร เรานำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ควบคุมระบบการจราจร เช่น สัญญาณไฟจราจร และการจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็จะใช้ในระบบการสื่อสารแบบเคลื่อนที่ นอกจากนี้ยังใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียม เพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยให้การส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน
4. งานราชการ การใช้งานในหน่วยงานราชการนั้นมีหลายรูป แบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้น ๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ สำหรับสรรพกร จะนำไปใช้ในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใช้ในการจัดระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่าง เป็นต้น
5. งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกรจะใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน
6. การศึกษา เราจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ทางด้าน การเรียนการสอน หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งจะทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด เป็นต้น
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
เราได้ประโยชน์อะไรจากการเรียนคอมพิวเตอร์
1. ทันสมัย / ทันเหตุการณ์ / ทันข้อมูลข่าวสาร / ทันโลก ช่วยให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก
2. ช่วยให้การเรียน การทำงาน ทันสมัยและไรับความสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น ได้เรียนรู้จากสื่อที่ทันสมัยที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า โปรแกรม CAI
3. เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ดีเยี่ยม ช่วยในการค้นคว้าหาความรู้เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
4. ช่วยรับ - ส่งข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว
5. ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น เกม ดูภาพยนตร์ ฟังเพลง ร้องเพลง
6. ช่วยสร้างงานศิลปะ ออกแบบชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์ สวยงาม
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ประโยชน์ทางตรง
ช่วยให้มนุษย์ทำงานได้โดยตรงคือคอมพิวเตอร์ทำงานได้เที่ยงตรง รวดเร็ว ไม่เหน็ดเหนื่อย ช่วยผ่อนแรงมนุษย์ ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการคำนวณ พิมพ์งาน บันทึกข้อมูล ประมวลผล ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานในแวดวงใน หากนำคอมพิวเตอร์เข้าช่วยงาน
จะช่วยแบ่งเบาภาระงานได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ
2. ประโยชน์ทางอ้อม
คอมพิวเตอร์ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น ช่วยในการเรียนรู้ให้ความปันเทิงความรู้ ช่วยงานบันเทิงพัฒนางานด้านต่าง ๆ
เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีอันส่งผลให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น เป็นต้น
ข้อดี-ข้อเสียของคอมพิวเตอร์
ข้อดี มีดังนี้
1. ความเร็วสูง
2.ความถูกต้องแม่นยำและน่าเชื่อถือ
3. ความสามารถในการจำหรือรักษา
4. การประหยัด
5. การใช้งานได้อีกหลายๆด้าน
ข้อเสีย
1. การทำงานยังต้องขึ้นอยู่กับมนุษย์
2. การวางระบบงานคอมพิวเตอร์ต้องใช้เวลานาน
3. การรบกวนระบบงานปกติ
10 วิธีถนอมสายตา หน้าจอคอมพิวเตอร์
1. ควรเลือกจอภาพที่มีการกระจายรังสีต่ำเพื่อถนอมสายตา วิธีทดสอบง่ายๆ ทำได้โดยลองปิดสวิตช์จอภาพ แล้วเอามือหรือแขนไปจ่อไว้ใกล้ๆ จอภาพให้มากที่สุด จอภาพที่มีการกระจายรังสีต่ำจะแทบไม่รู้สึกถึงไฟฟ้าสถิตตามขนที่ผิว คือไม่รู้สึกขนลุก
2. ปรับแสงและความคมชัดของหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้รู้สึกสบายตา รวมทั้งความสว่างภายในที่ทำงาน ลดแสงสะท้อนรบกวน เช่น ปิดไฟดวงที่สะท้อนจ้าลงบนจอคอมพิวเตอร์ หากทำงานกับคอมพิวเตอร์ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงจ้าและจอภาพมีความสว่างมาก ก็จะยิ่งส่งผลเสียต่อดวงตาได้ง่ายและรวดเร็ว จะรู้สึกว่ามีอาการปวดร้าวดวงตาเร็วและแสบตาอย่างรุนแรง
3. ตำแหน่งของจอภาพควรห่างจากดวงตาประมาณ 18-24 นิ้ว หรือประมาณช่วงแขนเอื้อม และปรับให้ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 15-20 องศา หากระยะห่างระหว่างตากับจอภาพไม่สัมพันธ์กัน จะทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าและปวดตาได้ง่าย
4. ใช้แผ่นกรองรังสีติดไว้ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ แม้ว่าจะช่วยลดการกระจายรังสีจากจอคอมพิวเตอร์ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แล้วแต่คุณภาพของสินค้า แต่อย่างน้อยๆ ก็ช่วยลดแสงจ้าจากจอคอมพิวเตอร์ลงได้
5. ทำความสะอาดหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่เสมอ เพราะฝุ่นจะทำให้เกิดการสะท้อนแสงมากขึ้น
6. หยุดพักหรือเปลี่ยนตารางเวลาการทำงานใหม่ จะช่วยให้สายตาคลายความเมื่อยล้าจากการจ้องเพ่งคอมพิวเตอร์ได้ จงหยุดพักสายตาครั้งละ 15 นาทีทุกๆ 2 ชั่วโมง ผู้เชี่ยวชาญบางคนก็แนะนำว่าควรจะหยุดพักบ่อยๆ โดยแต่ละครั้งใช้เวลาเพียงเล็กน้อย เช่น พักสายตาทุก 30 นาที โดยหลับตาหรือมองไปไกลๆ สัก 5-10 นาที แล้วจึงเริ่มทำงานต่อไป ก็จะช่วยถนอมสายตาได้
7. อาจใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ วางไว้บนเปลือกตา และหลับตาสัก 2-3 นาที หรือจะให้ดีกว่านั้นก็คือ ปิดไฟ นอนพักสักครู่ (ถ้าไม่มีปัญหากับหัวหน้างาน)
8. ผู้ที่ใส่คอนแท็กเลนส์ อาจจะเกิดอาการตาแห้งเพราะขาดน้ำหล่อเลี้ยง เพราะห้องที่มีคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ ก็มักจะมีเครื่องปรับอากาศอยู่ด้วย เมื่อบวกกับความร้อนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำให้อากาศแห้ง การหยอดน้ำตาเทียมจะช่วยได้
9. ควรกะพริบตาให้บ่อยครั้งกว่าปกติ เพื่อให้มีน้ำหล่อเลี้ยงดวงตาอยู่เสมอ ภายใน 10 วินาที ลองพยายามกะพริบตาสัก 1-2 ครั้ง จะช่วยลดความอ่อนล้าของสายตาได้มาก เพื่อให้มีน้ำหล่อเลี้ยงดวงตาอยู่เสมอ ภายใน 10 วินาที ลองพยายามกะพริบตาสัก 1-2 ครั้ง จะช่วยลดความอ่อนล้าของสายตาได้มาก
10. ตรวจสุขภาพตาบ่อยๆ ผู้ที่ใส่คอนแท็กเลนส์ และมีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำ ควรตรวจเช็กสุขภาพตาบ้าง
วิธีการดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
วิธีการดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
วิธีการดูแลรักษาแป้นพิมพ์(keyboard)
1.ปัดฝุ่นและทำความสะอาดเป็นประจำ
2.อย่าทำน้ำหกถูกแผงแป้นพิมพ์
3.คลุมผ้าทุกครั้งหลังการใช้งาน
วิธีการดูแลรักษาจอภาพ (Monitor)
1.ทำความสะอาดหน้าจอ
2.อย่านำแม่เหล็กเข้าใกล้จอภาพ
วิธีการดูแลรักษาเครื่องพิมพ์ (Printer)
1.ปิดเครื่องพิมพ์ทุกครั้งหลังใช้งาน
2.เมื่อกระดาษติดอย่ากระชากให้ค่อยๆดึงออก
วิธีการดูแลรักษาเมาส์ (Mouse)
1.ควรวางเมาส์ไว้ที่แผ่นรองเมาส์ทุกครั้ง
2.อย่ากระแทกเมาส์กับพื้น
3.ทำความสะอาดเมาส์บริเวณลูกกลิ้ง
วิธีการดูแลรักษาตัวเครื่อง (case)
1.ไม่ควรให้เครื่องอยู่บริเวณที่มีอุณหภูมิสูง
2.ไม่ควรทำน้ำหรืออาหารหกใส่เครื่อง
การดูแลรักษาแผ่นดิสก์ (Diskette)
1.ไม่ควรนำแผ่นดิสก์ไปไว้ในที่ที่มีความชื้นสูงหรือเปียก
2.ไม่ควรนำแผ่นดิสก์ไปเข้าใหล้กับวัตถุที่มีสนามแม่เหล็ก
3.ไม่ควรนำแผ่นดิสก์ไปวางไว้ในที่ที่มีอุณภูมิสูงหรือที่ที่มีแสงแดดส่องถึง
4.ไม่ควรขีดหรือเขียนสิ่งใดลงบนแผ่นดิสก์ถ้าจะต้องเขียนให้เขียนลงบนป้าน
ที่มีชื่อไว้สำหรับติดบนแผ่นดิสก์
5.ไม่ควรงอแผ่นดิสก์ เพราะอาจจะทำให้แผ่นชำรุดและอาจจะทำให้ไม่สามารถ
เก็บบันทึกข้อมูลได้
6.ห้ามนำแผ่นดิสก์ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ในขณะที่กำลังอ่านข้อมูล
การดูแลรักษาแผ่นซีดี (Cd)
1.ควรเก็บแผ่นซีดีไว้ในกล่อง เพื่อป้องกันฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกอื่นๆ
2.ไม่ควรขีดหรือเขียนสิ่งใดลงบนแผ่นซีดี เนื่องจากจะทำให้แผ่นซีดีเกิดรอย
ขีดข่วนและเสียหาย ใช้งานไม่ได้
3.การจัดแผ่นซีดีที่ถูกต้อง ควรใช้น้วชี้หรือนิ้วกลางใส่ลงไปที่ช่องตรงกลางของ
แผ่นแล้วใช้นิ้วอื่นจับตรงส่วนขอบของแผ่น ไม่ควรใช้มือจับบริเวณด้านหน้าหรือด้าน
หลังของแผ่นซีดี เนื่องจากคราบน้ำมันหรือสิ่งสรกปรกบนมืออาจทำให้แผ่นซีดีใช้งาน
ไม่ดีเท่าที่ควร
4.ไม่ควรงอแผ่นซีดี เนื่องจากแผ่นซีดีเป็นพลาสติดแข็งไม่มีความยืดหยุ่นซึ่งอาจจะ
ทำให้แผ่นซีดีมีโอกาสแตกหักได้ง่าย
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างเป็นระบบ (System) หมายถึงภายในระบบงานคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยที่มีหน้าที่เฉพาะ ทำงานประสานสัมพันธ์กัน เพื่อให้งานบรรลุตามเป้าหมาย ในระบบงานคอมพิวเตอร์
การที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว จะยังไม่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง ซึ่งหากจะให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพแล้ว ระบบคอมพิวเตอร์ควรจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบคือ บุคลากร (Peopleware) ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) ข้อมูล(Data) สารสนเทศ(Information) และกระบวนการทำงาน ( Procedure )
1. ฮาร์ดแวร์ ( Hardware ) ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบของตัวเครื่องที่สามารถจับต้องได้ ได้แก่ วงจร ไฟฟ้า ตัวเครื่อง จอภาพ เครื่องพิมพ์ คีร์บอร์ด เป็นต้นซึ่งสามารถแบ่งส่วนพื้นฐานของฮาร์ดแวร์เป็น 4 หน่วยสำคัญ
1.1 หน่วยรับข้อมูลหรืออินพุต ( Input Unit) ทำหน้าที่รับข้อมูลและโปรแกรมเข้า เครื่อง มีโครงสร้างดังรูป 1.3 ได้แก่ คีย์บอรืดหรือแป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องสแกน เครื่องรูดบัตร Digitizer เป็นต้น
1.2 ระบบประมวลผลกลางหรือซีพียู (CPU : Central Processing Unit) ทำหน้าที่ในการทำงานตามคำสั่งที่ปรากฏอยู่ในโปรแกรม ปัจจุบันซีพียูของเครื่องพีซี รู้จักในนามไมโครโปรเซสเซอร์ ( Micro Processor) หรือ Chip เช่นบริษัท Intel คือ Pentium หรือ Celelon ส่วนของบริษัท AMD คือ K6,K7(Athlon) เป็นต้น ไมโครโปรเซสเซอร์ มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ในลักษณะของการคำนวณและเปรียบเทียบ โดยจะทำงานตามจังหวะเวลาที่แน่นอน เรียกว่าสัญญาณ Clock เมื่อมีการเคาะจังหวะหนึ่งครั้ง ก็จะเกิดกิจกรรม 1 ครั้ง เราเรียกหน่วย ที่ใช้ในการวัดความเร็วของซีพียูว่า “เฮิร์ท”(Herzt) หมายถึงการทำงานได้กี่ครั้งในจำนวน 1 วินาที เช่น ซีพียู Pentium4 มีความเร็ว 2.5 GHz หมายถึงทำงานเร็ว 2,500 ล้านครั้ง ในหนึ่งวินาที กรณีที่สัญญาณ Clock เร็วก็จะทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้น มีความเร็วสูง และ ซีพียูที่ทำงานเร็วมาก ราคาก็จะแพงขึ้นมากตามไปด้วย
1.3 หน่วยเก็บข้อมูล ( Storage ) ซึ่งสามารถแยกตามหน้าที่ได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1.3.1 หน่วยเก็บข้อมูลหลักหรือความจำหลัก ( Primary Storage หรือ Main Memory ) ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งให้หน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผล และรับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลเพื่อส่งออกหน่วยแสดงข้อมูลต่อไปซึ่งอาจแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ RAM ( Random Access Memory ) ที่สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้ในขณะที่เปิดเครื่องอยู่ แต่เมื่อปิดเครื่องข้อมูลใน RAM จะหายไป และ ROM ( Read Only Memory ) จะอ่านได้อย่างเดียว เช่น BIOS (Basic Input Output system) โปรแกรมฝังไว้ใช้ตอนสตาร์ตเครื่อง เพื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มต้นทำงาน เป็นต้น
1.3.2 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ( Secondary Storage ) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูล หรือโปรแกรมที่จะป้อนเข้าสู่หน่วยความจำหลักภายในเครื่องก่อนทำการประมวลผลโดยซีพียู รวมทั้งเป็นที่เก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลด้วย ปัจจุบันรู้จักในนามฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) หรือแผ่นฟร็อปปีดิสก์ (Floppy Disk) ซึ่งเมื่อปิดเครื่องข้อมูลจะยังคงเก็บอยู่
1.4 หน่วยแสดงข้อมูลหรือเอาต์พุต ( Output Unit ) ทำหน้าที่ในการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ได้แก่ จอภาพ และเครื่องพิมพ์ เป็นต้น ทั้ง 4 ส่วนจะเชื่อมต่อกันด้วยบัส ( Bus )
2 ซอฟต์แวร์ ( Software )
ซอฟต์แวร์ คือโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน รวมไปถึงการควบคุมการทำงาน ของอุปกรณ์แวดล้อมต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม การ์ดอินเตอร์เฟสต่าง ๆ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้ แต่รับรู้การทำงานของมันได้ ซึ่งต่างกับ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ที่สามารถจับต้องได้ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ ( System Software ) คือโปรแกรม ที่ใช้ในการควบคุมระบบการ ทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่น การบูตเครื่อง การสำเนาข้อมูล การจัดการระบบของดิสก์ ชุดคำสั่งที่เขียนเป็นคำสั่งสำเร็จรูป โดยผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีมาพร้อมแล้วจากโรงงานผลิต การทำงานหรือการประมวลผล ของซอฟต์แวร์เหล่านี้ ขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ระบบของซอฟต์แวร์เหล่านี้ ออกแบบมาเพื่อการปฏิบัติควบคุม และมีความสามารถในการยืดหยุ่น การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
2.1.1 โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System) เป็นโปรแกรมที่ใช้ควบคุม และติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการจัดการระบบของดิสก์ การบริหารหน่วยความจำของระบบ กล่าวโดยสรุปคือ หากจะทำงานใดงานหนึ่ง โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ ในการทำงาน แล้วจะต้องติดต่อกับซอฟต์แวร์ระบบก่อน ถ้าขาดซอฟต์แวร์ชนิดนี้ จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถทำงานได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ โปรแกรมระบบปฏิบัติการ Unix Linux DOS และWindows (เวอร์ชั่นต่าง ๆ เช่น 95 98 me 2000 NT XP Vista ) เป็นต้น
2.1.2 ตัวแปลภาษา (Translator) จาก Source Code ให้เป็น Object Code (แปลจากภาษาที่มนุษย์เข้าใจ ให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ เปรียบเสมือนล่ามแปลภาษา) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง ซึ่ง เป็นภาษาใกล้เคียงภาษามนุษย์ ให้เป็นภาษาเครื่องก่อนที่จะนำไปประมวลผล ตัวแปลภาษาแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ คอมไพเลอร์ (Compiler) และอินเตอร์พีทเตอร์ (Interpeter) คอมไพเลอร์จะแปลคำสั่งในโปรแกรมทั้งหมดก่อน แล้วทำการลิ้ง (Link) เพื่อให้ได้คำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ ส่วนอินเตอร์พีทเตอร์จะแปลทีละประโยคคำสั่ง แล้วทำงานตามประโยคคำสั่งนั้น การจะเลือกใช้ตัวแปลภาษาแบบใดนั้น จะขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ซึ่งมี 2 แบบได้แก่ ภาษาแบบโครงสร้าง เช่น ภาษาเบสิก (Basic) ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาซี (C) ภาษาจาวา(Java)ภาษาโคบอล (Cobol) ภาษา SQL ภาษา HTML เป็นต้น ภาษาแบบเชิงวัตถุ ( Visual หรือ Object Oriented Programming ) เช่น Visual Basic,Visual C หรือ Delphi เป็นต้น
2.1.3 ยูติลิตี้ โปรแกรม (Utility Program) คือซอฟต์แวร์เสริมช่วยให้เครื่องทำงานมีประสิทธิภาพ มากขึ้น เช่น ช่วยในการตรวจสอบดิสก์ ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลในดิสก์ ช่วยสำเนาข้อมูล ช่วยซ่อมอาการชำรุดของดิสก์ ช่วยค้นหาและกำจัดไวรัส ฯลฯ เป็นต้นโปรแกรมในกลุ่มนี้ได้แก่ โปรแกรม Norton Winzip Scan virus Sidekick Scandisk Screen Saver ฯลฯ เป็นต้น
2.1.4 ติดตั้งและปรับปรุงระบบ (Diagonostic Program) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อและใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาติดตั้งระบบ ได้แก่ โปรแกรม Setupและ Driver ต่าง ๆ เช่น โปรแกรม Setup Microsoft Office โปรแกรม Driver Sound , Driver Printer , Driver Scanner ฯลฯ เป็นต้น
2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน (Special Purpose Software) คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ หรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา
2.2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General Purpose Software) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องเวลามากในการฝึกและปฏิบัติ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ มักจะมีการใช้งานในหน่วยงาน ซึ่งขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเขียนโปรแกรม ดังนั้น การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ได้แก่ MS-Office, Lotus, Adobe Photoshop, SPSS, Internet Explorer และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น
3 บุคลากร ( Peopleware )
บุคลากรจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดถึงประสิทธิภาพถึงความสำเร็จและความคุ้มค่าในการใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแบ่งบุคลากรตามหน้าที่เกี่ยวข้องตามลักษณะงานได้ 6 ด้าน ดังนี้
3.1 นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (Systems Analyst and Designer : SA ) ทำหน้าที่ศึกษาและรวบรวมความต้องการของผู้ใช้ระบบ และทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้ระบบและนักเขียนโปรแกรม (Programmer) หรือปรับปรุงคุณภาพงานเดิม นักวิเคราะห์ระบบต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ พื้นฐานการเขียนโปรแกรม และควรจะเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
3.2 โปรแกรมเมอร์ ( Programmer ) คือบุคคลที่ทำหน้าที่เขียนซอฟต์แวร์ต่างๆ(Software )หรือเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งงานให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
3.3 ผู้ใช้ ( User ) เป็นผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นผู้ปฏิบัติหรือกำหนดความต้องการในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ว่าทำงานอะไรได้บ้าง ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป จะต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
3.4 ผู้ปฏิบัติการ (Operator ) สำหรับระบบขนาดใหญ่ เช่น เมนเฟรม จะต้องมีเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ที่คอยปิดและเปิดเครื่อง และเฝ้าดูจอภาพเมื่อมีปัญหาซึ่งอาจเกิดขัดข้อง จะต้องแจ้ง System Programmer ซึ่งเป็นผู้ดูแลตรวจสอบแก้ไขโปรแกรมระบบควบคุมเครื่อง (System Software) อีกทีหนึ่ง
3.5 ผู้บริหารฐานข้อมูล ( Database Administrator : DBA ) กลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ดูแลข้อมูลผ่านระบบจัดการฐานข้อมูล ซึ่งจะควบคุมให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่กำหนดสิทธิการใช้งานข้อมูล กำหนดในเรื่องความปลอดภัยของการใช้งาน พร้อมทั้งดูแลดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ (Database Server) ให้ทำงานอย่างปกติด้วย
3.6 ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน เป็นผู้ที่มีความหมายต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานเป็นอย่างมาก
4. ข้อมูลและสารสนเทศ
4.1 ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วใช้ตัวเลขตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ ต่างๆ ทำความหมายแทนสิ่งเหล่านั้น เช่น
· คะแนนสอบวิชาภาษาไทยของนักเรียน
· อายุของพนักงานในบริษัทชินวัตรจำกัด
· ราคาขายของหนังสือในร้านหนังสือดอกหญ้า
· คำตอบที่ผู้ถูกสำรวจตอบในแบบสอบถาม
4.2 สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อสรุปต่างๆ ที่ได้จากการนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ หรือผ่านวิธีการที่ ได้กำหนดขึ้น ทั้งนี้เพื่อนำข้อสรุปไปใช้งานหรืออ้างอิง เช่น
· เกรดเฉลี่ยของวิชาภาษาไทยของนักเรียน
· อายุเฉลี่ยของพนักงานในบริษัทชินวัตรจำกัด
· ราคาขายสูงสุดของหนังสือในร้านหนังสือดอกหญ้า
· ข้อสรุปจากการสำรวจคำตอบในแบบสอบถาม
5. กระบวนการทำงาน ( Procedure )
องค์ประกอบด้านนี้หมายถึงกระบวนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ผู้ใช้จำเป็นต้องทราบขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้งานที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจจะมีขั้นตอนสลับซับซ้อนหลายขั้นตอน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีคู่มือปฏิบัติงาน เช่น คู่มือผู้ใช้ ( user manual ) หรือคู่มือผู้ดูแลระบบ ( operation manual ) เป็นต้น
คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างเป็นระบบ (System) หมายถึงภายในระบบงานคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยที่มีหน้าที่เฉพาะ ทำงานประสานสัมพันธ์กัน เพื่อให้งานบรรลุตามเป้าหมาย ในระบบงานคอมพิวเตอร์
การที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว จะยังไม่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง ซึ่งหากจะให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพแล้ว ระบบคอมพิวเตอร์ควรจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบคือ บุคลากร (Peopleware) ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) ข้อมูล(Data) สารสนเทศ(Information) และกระบวนการทำงาน ( Procedure )
1. ฮาร์ดแวร์ ( Hardware ) ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบของตัวเครื่องที่สามารถจับต้องได้ ได้แก่ วงจร ไฟฟ้า ตัวเครื่อง จอภาพ เครื่องพิมพ์ คีร์บอร์ด เป็นต้นซึ่งสามารถแบ่งส่วนพื้นฐานของฮาร์ดแวร์เป็น 4 หน่วยสำคัญ
1.1 หน่วยรับข้อมูลหรืออินพุต ( Input Unit) ทำหน้าที่รับข้อมูลและโปรแกรมเข้า เครื่อง มีโครงสร้างดังรูป 1.3 ได้แก่ คีย์บอรืดหรือแป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องสแกน เครื่องรูดบัตร Digitizer เป็นต้น
1.2 ระบบประมวลผลกลางหรือซีพียู (CPU : Central Processing Unit) ทำหน้าที่ในการทำงานตามคำสั่งที่ปรากฏอยู่ในโปรแกรม ปัจจุบันซีพียูของเครื่องพีซี รู้จักในนามไมโครโปรเซสเซอร์ ( Micro Processor) หรือ Chip เช่นบริษัท Intel คือ Pentium หรือ Celelon ส่วนของบริษัท AMD คือ K6,K7(Athlon) เป็นต้น ไมโครโปรเซสเซอร์ มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ในลักษณะของการคำนวณและเปรียบเทียบ โดยจะทำงานตามจังหวะเวลาที่แน่นอน เรียกว่าสัญญาณ Clock เมื่อมีการเคาะจังหวะหนึ่งครั้ง ก็จะเกิดกิจกรรม 1 ครั้ง เราเรียกหน่วย ที่ใช้ในการวัดความเร็วของซีพียูว่า “เฮิร์ท”(Herzt) หมายถึงการทำงานได้กี่ครั้งในจำนวน 1 วินาที เช่น ซีพียู Pentium4 มีความเร็ว 2.5 GHz หมายถึงทำงานเร็ว 2,500 ล้านครั้ง ในหนึ่งวินาที กรณีที่สัญญาณ Clock เร็วก็จะทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้น มีความเร็วสูง และ ซีพียูที่ทำงานเร็วมาก ราคาก็จะแพงขึ้นมากตามไปด้วย
1.3 หน่วยเก็บข้อมูล ( Storage ) ซึ่งสามารถแยกตามหน้าที่ได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1.3.1 หน่วยเก็บข้อมูลหลักหรือความจำหลัก ( Primary Storage หรือ Main Memory ) ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งให้หน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผล และรับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลเพื่อส่งออกหน่วยแสดงข้อมูลต่อไปซึ่งอาจแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ RAM ( Random Access Memory ) ที่สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้ในขณะที่เปิดเครื่องอยู่ แต่เมื่อปิดเครื่องข้อมูลใน RAM จะหายไป และ ROM ( Read Only Memory ) จะอ่านได้อย่างเดียว เช่น BIOS (Basic Input Output system) โปรแกรมฝังไว้ใช้ตอนสตาร์ตเครื่อง เพื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มต้นทำงาน เป็นต้น
1.3.2 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ( Secondary Storage ) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูล หรือโปรแกรมที่จะป้อนเข้าสู่หน่วยความจำหลักภายในเครื่องก่อนทำการประมวลผลโดยซีพียู รวมทั้งเป็นที่เก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลด้วย ปัจจุบันรู้จักในนามฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) หรือแผ่นฟร็อปปีดิสก์ (Floppy Disk) ซึ่งเมื่อปิดเครื่องข้อมูลจะยังคงเก็บอยู่
1.4 หน่วยแสดงข้อมูลหรือเอาต์พุต ( Output Unit ) ทำหน้าที่ในการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ได้แก่ จอภาพ และเครื่องพิมพ์ เป็นต้น ทั้ง 4 ส่วนจะเชื่อมต่อกันด้วยบัส ( Bus )
2 ซอฟต์แวร์ ( Software )
ซอฟต์แวร์ คือโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน รวมไปถึงการควบคุมการทำงาน ของอุปกรณ์แวดล้อมต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม การ์ดอินเตอร์เฟสต่าง ๆ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้ แต่รับรู้การทำงานของมันได้ ซึ่งต่างกับ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ที่สามารถจับต้องได้ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ ( System Software ) คือโปรแกรม ที่ใช้ในการควบคุมระบบการ ทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่น การบูตเครื่อง การสำเนาข้อมูล การจัดการระบบของดิสก์ ชุดคำสั่งที่เขียนเป็นคำสั่งสำเร็จรูป โดยผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีมาพร้อมแล้วจากโรงงานผลิต การทำงานหรือการประมวลผล ของซอฟต์แวร์เหล่านี้ ขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ระบบของซอฟต์แวร์เหล่านี้ ออกแบบมาเพื่อการปฏิบัติควบคุม และมีความสามารถในการยืดหยุ่น การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
2.1.1 โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System) เป็นโปรแกรมที่ใช้ควบคุม และติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการจัดการระบบของดิสก์ การบริหารหน่วยความจำของระบบ กล่าวโดยสรุปคือ หากจะทำงานใดงานหนึ่ง โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ ในการทำงาน แล้วจะต้องติดต่อกับซอฟต์แวร์ระบบก่อน ถ้าขาดซอฟต์แวร์ชนิดนี้ จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถทำงานได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ โปรแกรมระบบปฏิบัติการ Unix Linux DOS และWindows (เวอร์ชั่นต่าง ๆ เช่น 95 98 me 2000 NT XP Vista ) เป็นต้น
2.1.2 ตัวแปลภาษา (Translator) จาก Source Code ให้เป็น Object Code (แปลจากภาษาที่มนุษย์เข้าใจ ให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ เปรียบเสมือนล่ามแปลภาษา) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง ซึ่ง เป็นภาษาใกล้เคียงภาษามนุษย์ ให้เป็นภาษาเครื่องก่อนที่จะนำไปประมวลผล ตัวแปลภาษาแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ คอมไพเลอร์ (Compiler) และอินเตอร์พีทเตอร์ (Interpeter) คอมไพเลอร์จะแปลคำสั่งในโปรแกรมทั้งหมดก่อน แล้วทำการลิ้ง (Link) เพื่อให้ได้คำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ ส่วนอินเตอร์พีทเตอร์จะแปลทีละประโยคคำสั่ง แล้วทำงานตามประโยคคำสั่งนั้น การจะเลือกใช้ตัวแปลภาษาแบบใดนั้น จะขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ซึ่งมี 2 แบบได้แก่ ภาษาแบบโครงสร้าง เช่น ภาษาเบสิก (Basic) ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาซี (C) ภาษาจาวา(Java)ภาษาโคบอล (Cobol) ภาษา SQL ภาษา HTML เป็นต้น ภาษาแบบเชิงวัตถุ ( Visual หรือ Object Oriented Programming ) เช่น Visual Basic,Visual C หรือ Delphi เป็นต้น
2.1.3 ยูติลิตี้ โปรแกรม (Utility Program) คือซอฟต์แวร์เสริมช่วยให้เครื่องทำงานมีประสิทธิภาพ มากขึ้น เช่น ช่วยในการตรวจสอบดิสก์ ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลในดิสก์ ช่วยสำเนาข้อมูล ช่วยซ่อมอาการชำรุดของดิสก์ ช่วยค้นหาและกำจัดไวรัส ฯลฯ เป็นต้นโปรแกรมในกลุ่มนี้ได้แก่ โปรแกรม Norton Winzip Scan virus Sidekick Scandisk Screen Saver ฯลฯ เป็นต้น
2.1.4 ติดตั้งและปรับปรุงระบบ (Diagonostic Program) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อและใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาติดตั้งระบบ ได้แก่ โปรแกรม Setupและ Driver ต่าง ๆ เช่น โปรแกรม Setup Microsoft Office โปรแกรม Driver Sound , Driver Printer , Driver Scanner ฯลฯ เป็นต้น
2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน (Special Purpose Software) คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ หรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา
2.2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General Purpose Software) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องเวลามากในการฝึกและปฏิบัติ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ มักจะมีการใช้งานในหน่วยงาน ซึ่งขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเขียนโปรแกรม ดังนั้น การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ได้แก่ MS-Office, Lotus, Adobe Photoshop, SPSS, Internet Explorer และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น
3 บุคลากร ( Peopleware )
บุคลากรจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดถึงประสิทธิภาพถึงความสำเร็จและความคุ้มค่าในการใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแบ่งบุคลากรตามหน้าที่เกี่ยวข้องตามลักษณะงานได้ 6 ด้าน ดังนี้
3.1 นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (Systems Analyst and Designer : SA ) ทำหน้าที่ศึกษาและรวบรวมความต้องการของผู้ใช้ระบบ และทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้ระบบและนักเขียนโปรแกรม (Programmer) หรือปรับปรุงคุณภาพงานเดิม นักวิเคราะห์ระบบต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ พื้นฐานการเขียนโปรแกรม และควรจะเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
3.2 โปรแกรมเมอร์ ( Programmer ) คือบุคคลที่ทำหน้าที่เขียนซอฟต์แวร์ต่างๆ(Software )หรือเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งงานให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
3.3 ผู้ใช้ ( User ) เป็นผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นผู้ปฏิบัติหรือกำหนดความต้องการในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ว่าทำงานอะไรได้บ้าง ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป จะต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
3.4 ผู้ปฏิบัติการ (Operator ) สำหรับระบบขนาดใหญ่ เช่น เมนเฟรม จะต้องมีเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ที่คอยปิดและเปิดเครื่อง และเฝ้าดูจอภาพเมื่อมีปัญหาซึ่งอาจเกิดขัดข้อง จะต้องแจ้ง System Programmer ซึ่งเป็นผู้ดูแลตรวจสอบแก้ไขโปรแกรมระบบควบคุมเครื่อง (System Software) อีกทีหนึ่ง
3.5 ผู้บริหารฐานข้อมูล ( Database Administrator : DBA ) กลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ดูแลข้อมูลผ่านระบบจัดการฐานข้อมูล ซึ่งจะควบคุมให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่กำหนดสิทธิการใช้งานข้อมูล กำหนดในเรื่องความปลอดภัยของการใช้งาน พร้อมทั้งดูแลดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ (Database Server) ให้ทำงานอย่างปกติด้วย
3.6 ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน เป็นผู้ที่มีความหมายต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานเป็นอย่างมาก
4. ข้อมูลและสารสนเทศ
4.1 ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วใช้ตัวเลขตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ ต่างๆ ทำความหมายแทนสิ่งเหล่านั้น เช่น
· คะแนนสอบวิชาภาษาไทยของนักเรียน
· อายุของพนักงานในบริษัทชินวัตรจำกัด
· ราคาขายของหนังสือในร้านหนังสือดอกหญ้า
· คำตอบที่ผู้ถูกสำรวจตอบในแบบสอบถาม
4.2 สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อสรุปต่างๆ ที่ได้จากการนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ หรือผ่านวิธีการที่ ได้กำหนดขึ้น ทั้งนี้เพื่อนำข้อสรุปไปใช้งานหรืออ้างอิง เช่น
· เกรดเฉลี่ยของวิชาภาษาไทยของนักเรียน
· อายุเฉลี่ยของพนักงานในบริษัทชินวัตรจำกัด
· ราคาขายสูงสุดของหนังสือในร้านหนังสือดอกหญ้า
· ข้อสรุปจากการสำรวจคำตอบในแบบสอบถาม
5. กระบวนการทำงาน ( Procedure )
องค์ประกอบด้านนี้หมายถึงกระบวนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ผู้ใช้จำเป็นต้องทราบขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้งานที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจจะมีขั้นตอนสลับซับซ้อนหลายขั้นตอน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีคู่มือปฏิบัติงาน เช่น คู่มือผู้ใช้ ( user manual ) หรือคู่มือผู้ดูแลระบบ ( operation manual ) เป็นต้น
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
ด้วย ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและเป็นยุคสารสนเทศ ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็สะดวกสบายไปเสียหมด จะติดตามข่าวสารต่างๆ ก็สะดวกสบายขึ้น การติดต่อสื่อสารก็ง่ายขึ้น ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ทุกอย่างนั้นสะดวกขึ้นเป็นอย่างมาก แม้กระทั่งการทำงานของเราก็ สะดวก ขึ้น เพราะปัจจุบันนี้ ในการทำงานก็มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง ที่เห็นง่ายๆ เลย ก็คือ การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานเอกชนล้วนแล้วแต่นำคอมพิวเตอร์เข้า มาเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานทั้งนั้น แล้วรู้กันหรือไหมว่า คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนั้นมีส่วนประกอบอะไรบ้าง และมีความสำคัญอย่างไร วันนี้เรามารู้จักกับคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่เราใช้งานกันอยู่ดีกว่า
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์หลักๆ
รู้กันมั้ยว่าส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง คอมพิวเตอร์นั้นมีส่วนประกอบหลักๆ อยู่ 4 ส่วนด้วยกัน เริ่มจาก
1. โปรเซสเซอร์ (Processor) นั่น ก็คือหน่วยประผลกลางหรือที่รู้จักกันในนามของซีพียู (CPU) นั่นเอง หรือเรียกว่าซิป ซึ่งส่วนนี้มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะว่ามีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามา ซึ่งซีพียูนั้นมีรุ่นต่างๆ ออกมาวางขายตามท้องตลาดมากมาย ซึ่งแต่ละรุ่นก็ราคาแตกต่างกันออกไป
2. หน่วยความจำ (Memory) หรือ RAM นั่นเอง ซึ่ง RAM นั้นเป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็นในการเก็บข้อมูลต่างๆ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหน่วยความจำสำรองนั่นเอง ก็คือจะเก็บข้อมูลชั่วคราว ซึ่งหน่วยความจำแรมจะทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์ กำลังทำงานอยู่ด้วย
3. ส่วนอินพุต/เอาต์พุต (Input/Output) ก็คืออุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสัมผัสและรับรู้สิ่งต่าง ๆ เช่น เครื่องอ่านบัตร คีย์บอร์ด เมาส์ สแกนเนอร์ และอุปกรณ์ Output ก็ได้แก่พวก เครื่องพิมพ์ จอภาพ
4. สื่อจัดเก็บข้อมูล (Storage) นั่นก็คือสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ส่วนอื่นๆ
จอภาพ หรือ monitor เป็น อุปกรณ์การแสดงผลที่สำคัญที่สุด จะเป็นส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้โดยตรง เพราะเราสามารถมองเห็นข้อมูลที่ที่แสดงผลได้โดยผ่านจอภาพของเรา จอภาพของคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือจอแบบซีอาร์ที และจอแบบแอลซีดี ซึ่งจอภาพ 2 แบบนี้มีลักษณะที่แตกต่างกันในเรื่องของรูปแบบ นั้นก็คือจอแบบซีอาร์ที (CRT) ส่วนใหญ่เป็นจอภาพที่นิยมใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มีขนาดใหญ่คล้ายโทรทัศน์ เมื่อก่อนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่เมื่อจอภาพแบบแอลซีดี (LCD) เข้ามาแทน จอภาพแบบซีอาร์ทีก็เริ่มมีน้อยลงจนในปัจจุบันนี้เราแทบไม่เห็นร้านขาย คอมพิวเตอร์มีจอแบบนี้วางขายอีกแล้ว ส่วนจอภาพแบบแอลซีดีนั้นมีทั้งแบบที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและในแบบของ โน๊ตบุ๊ค เนื่องจากเป็นจอภาพที่มีขนาดรูปร่างที่บางทำให้สะดวกสำหรับการพกพาไปไหนมา ไหน แต่จอภาพแบบแอลซีดีนี้ก็มีราคาที่แพงกว่าจอภาพแบบซีอาร์ที
เคส (case) คือ กล่องหรือโครงสร้างสำหรับเก็บประกอบอุปกรณ์ต่างๆ คอมพิวเตอร์ไว้ภายในนั้น ซึ่งขนาดของเคสก็จะแตกต่างกันออกไป แล้วแต่การใช้งานหรือความเหมาะสมในการใช้งานของแต่ละคนรวมทั้งสถานที่เก็บ อุปกรณ์เหล่านั้นด้วยว่ามีขนาดพื้นที่มากน้อยเพียงใด และในตัวเคสก็จะมีในส่วนของพาวเวอร์ซัพพลายติดมาด้วย
พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์
คีย์บอร์ดหรือแป้นพิมพ์ (Keyboard) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมี เนื่องจากตัวคีย์บอร์ดใช้สำหรับการพิมพ์หรือป้อมข้อมูลต่างลงไปในเครื่อง คอมพิวเตอร์ ในตัวคีย์บอร์ดจะมีทั้งที่เป็นตัวอักษรที่เป็นภาษาหลักของแต่ละประเทศรวม ทั้งภาษาหลักอย่างภาษาอังกฤษอยู่ด้วย และยังมีข้อมูลทั้งตัวเลขและฟังก์ชันต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการใช้งานและอื่นๆ อีก เพื่อใช้สำหรับลงข้อมูลในตัวเครื่องของเรา โดยส่วนใหญ่แล้วคีย์บอร์ดมีลักษณะที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือมีลักษณะที่ ใกล้เคียงกัน แต่ในปัจจุบันก็อาจมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป แล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์ของคนออกแบบนั้นเอง
ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลหรือเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ และเป็นอุปกรณ์ที่ติดมาพร้อมกันกับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งตัวฮาร์ดดิสก์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมและมีแผงวงจรสำหรับควบคุมการ ทำงานอยู่ด้านล่างและช่องสำหรับเสียบสายไฟเลี้ยงและสายสัญญาณต่างๆ โดยที่ส่วนประกอบภายในจะปิดไว้อย่างมิดชิดเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น
ซีพียู (CPU) มีหน้าที่ในการประมวลผลหรือเรียกว่าโปรเซสเซอร์หรือชิป เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากเนื่องจากมีหน้าที่ในการประมวลผลจากการป้อน ข้อมูลลงไป
การ์ดแสดงผล (Display Card) หลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร
โดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย
เมาส์ (Mouse) จะเป็นอุปกรณ์ที่ให้ความรู้สึกที่ดีต่อการใช้งาน ช่วยให้การใช้งานง่ายขึ้นด้วยการใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ บนจอภาพ หรือเรียกง่ายๆ ว่าตัวชี้ตำแหน่งนั่นเอง ในขณะที่สายตาจับอยู่ที่จอภาพก็สามารถใช้มือลากเมาส์ไปมาได้ ระยะทางและทิศตจะสัมพันธ์และเป็นไปในแนวทางเดียวกับการเลื่อนเมาส์
เมาส์แบ่งได้เป็นสองแบบคือ แบบทางกลและแบบใช้แสง แบบทางกลเป็นแบบที่ใช้ลูกกลิ้งกลม ที่มีน้ำหนักและแรงเสียดทานพอดี เมื่อเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางใดจะทำให้ลูกกลิ้งเคลื่อนไปมาในทิศทางนั้น แต่ในปัจจุบันเมาส์แบบลูกกลิ้งไม่ค่อยนิยมนำมาใช้กันแล้ว
แรม (RAM) เป็น หน่วยความจำของระบบ มีหน้าที่รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้ CPU ประมวลผล แรมเป็นหน่วยความจำหลักของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเก็บข้อมูลเมื่อมีกระแสไฟหล่อเลี้ยงเท่านั้น โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที
CD Drive / DVD Drive / CD-RW Drive / DVD-RW Drive เป็นไดรฟ์ สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม หรือดีวีดีรอม ซึ่งถ้าหากต้องการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นจะต้องใช้ไดรฟ์ที่สามารถเขียนแผ่นได้
เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความ เร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็ก เตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกหรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ CD-ROM / DVD-ROM ภาย ในซีดีรอม หรือดีวีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอม หรือดีวีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น
สรุปเรื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
เราจะเห็นว่าส่วนประกอบหรืออุปกรณ์หลักๆ ของคอมพิวเตอร์นั้นแต่ละส่วนก็มีความแตกต่างกันไป และวิธีการดูแลรักษาก็แตกต่างกันออกไป ฉะนั้นเมื่อเราใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ก็ควรศึกษารายละเอียดต่างๆ ให้รอบคอบ การใช้งานอย่างถูกวิธีก็จะช่วยให้อุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้อยู่กับเราไปนานแสนนานเลยทีเดียว
ส่วนใครที่พอจะมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องคอมพิวเตอร์อยู่ บ้าง ก็ควรที่จะถอดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มาเช็ดถู เป็นการทำความสะอาดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของเราเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพใน การใช้งานมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ก็ไม่ควรทำเด็ดขาดเพราะอาจจะทำให้เกิดอันตราย และเกิดความเสียหายได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)